ในระหว่างการยกพลขึ้นบนในวันดีเดย์ท่ามกลางห่ากระสุนปืนและระเบิดทำลายล้างเสียงปีสก๊อตก้องกังวาลปลุกใจทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังวิ่งบุกขึ้นชายหาดแคว้นนอร์ม็องดีประเทศฝรั่งเศส การยกพลขึ้นบกครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สงครามสมัยใหม่และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของสงครามโลกครั้งที่ 2
พลทหารบิล มิลลินทหารในกองทัพอังกฤษได้ร่วมยกพลขึ้นบกบริเวณหาดซอร์ดในเช้าวันดีเดย์ เขาได้รับหน้าที่แตกต่างจากทหารคนอื่น ๆ โดยทำหน้าที่เป่าปี่สก๊อตปลุกใจเพื่อทหารให้ฮึกเฮิมและกล้าวิ่งฝ่าดงกระสุนปืนกลของทหารเยอรมันที่พยายามยิ่งสกัดกั้น กองทัพอังกฤษเคยใช้เสียงปี่สก๊อตปลุกใจทหารในสงครามโลกครั้งที่ 1 และถูกนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 วีรกรรมของพลทหารบิล มิลลินได้รับการยกย่องและกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของวันดีเดย์เพื่อสดุดีเพื่อนทหารที่ร่วมต่อสู้และเสียชีวิตในเช้าวันดีเดย์
ประวัติพลทหารบิล มิลลิน
พลทหารบิล มิลลินหรือ วิลเลียม บิล มิลลิน (William “Bill” Millin) เกิดและเติบโตในเมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ คุณพ่อเป็นชาวประเทศแคนาดาที่ย้ายเข้ามาเป็นตำรวจในประเทศสกอตแลนด์ บิล มิลลินเข้าร่วมกองกำลังป้องกันดินแดนที่เมืองฟอร์ตวิลเลียม ก่อนได้รับการฝึกเป็นหน่วยคอมมานโดสังหัดคอมมานโดที่ 15 มีหลอดโลเวทเป็นผู้บังคับบัญชา สังกัดหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ 1
เกิดอะไรขึ้นในวันดีเดย์
วันดีเดย์การยกพลขึ้นบกครั้งใหญ่ของทหารฝ่ายสัมพันธมิตร สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ตลอดแนวชายหาดของแคว้นนอร์ม็องดีประเทศฝรั่งเศส โดยใช้ชื่อปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด กองกำลังผสมทหารเรือ ทหารอากาศ ทหารบก จำนวนมากกว่า 156,000 นาย เรือรบกว่า 7,000 ลำ ในตอนเช้ามืดของวันที่ 6 มิถุนายน 1944 ก่อนหน้าการบุกในตอนเช้าปฏิบัติการเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางดึกโดยทหารรบพิเศษทำหน้าที่ชี้เป้าไฟสัญญาณ ตามมาด้วยทหารหน่วยพลร่มสหรัฐกระโดดร่มลงบริเวณเมืองแซงต์ แมร์ และเอกลิส ทหารพลร่มอังกฤษกระโดดร่มลงบริเวณเมืองร๊องวิลล์เพื่อยึดสะพานและจุดยุทธศาสตร์
บริเวณชายหาดแคล้นนอร์ม๊องดีฝ่ายสัมพันธมิตรแบ่งพื้นที่ชายหาดออกเป็น 5 ส่วนใช้รหัสเรียกชื่อตามลำดับยูทาร์ โอมาฮา โกลด์ จูโน และซอร์ด ยกพลขึ้นบกพร้อมกันท่ามกลางคลื่นลมและพายุฝนกระหน่ำอย่างรุนแรง จนทำให้ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบกของกองทัพสหรัฐบริเวณหาดยูทาห์จมลงทะเลไปเกือบทั้งหมดส่งผลให้บริเวณหาดยูทาห์ทหารสหรัฐขาดกำลังยิงสนับสนุนจากยานรบสะเทินน้ำสะเทินบกจนทหารราบเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก
การยกพลขึ้นบกบริเวณหาดซอร์ด
การรบบริเวณหาดซอร์ดพื้นที่สู้รบที่พลทหารบิล มิลลินเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจเป็นไปอย่างดุเดือดทหารอังกฤษ ฝรั่งเศส โปแลนด์ นอร์เวย์ ใช้กำลังพลประมาณ 30,000 นาย รถถังประมาณ 200 คัน เข้าต่อสู้กับกองทัพที่ 8 กองทหารราบที่ 716 ของกองทัพนาซีเยอรมัน แม้ว่าการสู้รบจะเป็นไปอย่างดุเดือดแต่กองทัพนาซีเยอรมันวางกำลังทหารบริเวณชายหาดซอร์ดเพียงแค่ประมาณ 10,000 นาย รถถัง 100 กว่าคัน เนื่องจากกองทัพนาซีเยอรมันต้องการปะทะบนแผ่นดินใหญ่มากกว่ากว่าการต่อสู้ชี้ขาดกันบนชายหาด การรบบริเวณหาดซอร์ดทหารฝ่ายสัมพันธมิตรเสียชีวิตประมาณ 683 นาย ส่วนพลทหารบิล มิลลินรอดชีวิตและยังสู้รบต่อจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
พลทหารบิล มิลลินหรือไพเพอร์ บิล
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 พลทหารบิล มิลลินเดินทางกลับอังกฤษและใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นก่อนเสียชีวิตลงในวันที่ 17 สิงหาคม 2010 ขณะมีอายุได้ 88 ปี วีรกรรมของเขายังคงอยู่ตลอดไป พลทหารบิล มิลลินกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเมื่อมีการกล่าวถึงวันดีเดย์ไม่ใช่ฐานะบุคคลหนึ่งแต่เป็นเสมือนตัวแทนเพื่อนทหารร่วมรบทุกคนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในวันดีเดย์ รัฐบาลประเทศฝรั่งเศสได้สร้างอนุสาวรีย์พลทหารบิล มิลลินยืนเป่าปี่สก๊อตไว้บริเวณหาดซอร์ดเพื่อรำลึกถึงทหารฝ่ายสัมพันธมิตรทุกคนที่ร่วมต่อสู้ปลอดปล่อยฝรั่งเศสในเช้าวันที่ 6 มิถุนายน 1944 โดยจะมีพิธีรำลึกด้วยการเป่าปี่สก๊อตในทุก ๆ วันที่ 6 มิถุนายนอย่างสมเกียรติ
เรื่องราวของพลทหารบิล มิลลินถูกนำมาถ่ายทอดเป็นฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง The Longest Day เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการยกพลขึ้นบกในวันดีเดย์ นอกจากนี้สำนักข่าวบีบีซีอังกฤษยังเคยทำสารคดีสั้นเกี่ยวกับเรื่องราวของเขา ปัจจุบันชุดเครื่องแบบของพลทหารบิล มิลลินถูกนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Dawlish Museum ในเมือง Devon ประเทศอังกฤษ เรื่องราวของพลทหารบิล มิลลินยังถูกนำไปถ่ายทอดเป็นเพลงเวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น ในปี 2012 วงร๊อคชื่อ The Real McKenzies ในประเทศแคนาดานำไปแต่งเป็นเพลง My Head Is Filled with Music และในปีเดียวกันวงดนตรีอังกฤษ Police Dog Hogan นำไปแต่งเป็นเพลง Fraserburgh Train ในปี 2014 วงร๊อค The Black Tartan Clan ประเทศแบลเยี่ยมนำไปแต่งเป็นเพลงชื่อ Piper Bill
อนุสาวรีย์พลทหารบิล มิลลิน
ภาพการยกพลขึ้นบกบริเวณหาดซอร์ดในวันดีเดย์
เรียบเรียงโดย THE HISTORY NOW