วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (Franco-Siamese War 1893)

Thailand & WorldWars

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 สยามหรือประเทศไทยรบฝรั่งเศสที่กำลังต้องการล่าอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้าการสู้รบในครั้งนี้สยามและฝรั่งเศสมีปัญหาเรื่องอาณาเขตดินแดนมาระยะหนึ่ง ในขณะนั้นฝรั่งเศสแพ้สงครามให้กับเยอรมันและผู้นำเยอรมันต้องการให้ฝรั่งเศสออกล่าอาณานิคมเพื่อแสดงแสนยานุภาพและทรัพยากร

สยามในขณะนั้นต้องทำทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดจากสองมหาอำนาจในภูมิภาค คือ อังกฤษและฝรั่งเศส ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ทางตอนใต้ของจีนจึงกลายเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์หากต้องการยึดประเทศจีน

สยามทราบถึงภัยคุกคามทางเรือมาระยะหนึ่งแล้วจึงได้สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้าและป้อมผีเสื้อสมุทร บริเวณตำบลแหลมฟ้าผ่า และตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเตรียมรับการรุกรานทางน้ำ อาวุธประจำป้อมเป็นปืนเสือหมอบขนาด 152/32 มม. นับเป็นปืนใหญ่ที่ทันสมัยมากรุ่นหนึ่งในยุคนั้น สยามได้สั่งซื้อปืนใหญ่รุ่นนี้จากบริษัท เซอร์ ดับเบิ้ลยู จี อาร์มสตรอง ในประเทศอังกฤษ ยิงกระสุนปืนได้ไกล 8 กิโลเมตร ปืนสามารถซ่อนตัวในหลุมปืนและโผล่ขึ้นมายิงต่อสู้ปืนรุ่นนี้จึงได้รับชื่อเรียกว่าปืนเสือหมอบ ปืนใหญ่ถูกติดตั้งที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า 7 กระบอก ป้อมผีเสื้อสมุทร 3 กระบอก

ป้อมพระจุลจอมเกล้าและป้อมผีเสื้อสมุทรถูกออกแบบโดยพลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ หรือ กัปตันริเชอลิเยอ ชาวเดนมาร์กที่เข้ามารับราชการในสยาม ผู้บัญชาการกองทัพเรือสยาม

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 เรือรบฝรั่งเศสแล่นมาจากทิศตะวันออกประกอบด้วยเรือปืน Insonstant เรือปืน Comete และนำร่อง Jean-BaptisteSay ภายใต้ผู้บัญชาการรบฝรั่งเศส Louis Dartige de Fournet บนเรือปืน Comete โดยต้องการบีบบังคับสยามด้วยการปิดปากแม่น้ำ

ทหารสยามยินปืนแจ้งเตือนแต่ไม่เป็นผลจึงใช้ปืนใหญ่กระสุนจริงยิงต่อสู้ การต่อสู้เป็นไปในรูปแบบใช้ปืนใหญ่ยิงเข้าใส่ การวางทุ่นระเบิดดักเรือรบฝรั่งเศส นอกจากนี้ทหารสยามยังวางกำลังเรือรบทั้งที่ติดอาวุธและไม่ติดอาวุธไว้บริเวณชั้นในของแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างไรก็ตามเรือรบฝรั่งเศสก็สามารถแล่นเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและได้รับชัยชนะ ผลของการสู้รบสยามต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเงินทองคำจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส และใช้พื้นที่จังหวัดจันทบุรีเป็นหลักประกัน

ที่มาของข้อมูล

Franco-Siamese War