ใครคือนักเขียนชื่อ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ “ศรีบูรพา”

sri-burapha
People

กุหลาบ สายประดิษฐ์ เจ้าของนามปากกา “ศรีบูรพา” นักเขียนคนสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยและได้รับการยกย่องจากยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยมีคนไทยเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับการยกย่อง เช่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 , พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่ 9, ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พยมยงค์, ท่านพุทธทาส ภิกขุ, กุหลาบ สายประดิษฐ์ และบุคคลอื่น ๆ รวม 31 ท่าน

กุหลาบ สายประดิษฐ์ เกิดในวันที่ 31 มีนาคม 1905 ในครอบครัวที่บิดาเป็นเสมียนกรมรถไฟ มาตรดาเป็นชาวนา จังหวัดสุพรรณบุรี กุหลาบ สายประดิษฐ์เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของครอบครัว ขณะที่อายุได้ 6 ขวบ บิดาเสียชีวิตลง คุณแม่และพี่สาวต้องทำงานเพื่อส่งกุหลาบเรียนหนังสือ (คนในสมัยก่อนฐานะไม่ค่อยจะดีมักส่งให้ลูกคนสุดท้ายเรียนหนังสือเพียงคงคนเดียวรวมถึงครอบครัวมารดาของ Admin ด้วย) ด้วยความลำบากของครอบครัว กุหลาบ สายประดิษฐ์ จึงตั้งใจเรียนหนังสือและสามารถใช้งานพิมพ์ดีดได้อย่างคล่องแคล่ว รวมไปถึงความสามารถในด้านภาษาอังกฤษ

หลังจบการศึกษาชั้นมัธยม 6 ในปี 1922 กุหลาบ สายประดิษฐ์ เริ่มทำงานหนังสือพิมพ์โดยใช้นามปากกาว่า “ดาราลอย” ก่อนเปลี่ยนนามปากกาเป็น “ศรีบูรพา” ในปี 1923 และได้ใช้นามปากกานี้สร้างผลงานเขียนนิยายเรื่องแรกชื่อ “คุณพี่มาแล้ว” เมื่อเริ่มสร้างผลงานเป็นที่รู้จักกุหลาบ สายประดิษฐ์ได้เข้าไปทำงานในกรมยุทธศึกษาฯ เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์ ก่อนเปลี่ยนไปทำงานบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน บางกอกการเมือง

จุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตกุหลาบ สายประดิษฐ์ คือ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย 24 มิถุนายน 1932 กุหลาบ สายประดิษฐ์ได้รับหน้าที่เป็นบรรณธิการหนังสือพิมพ์ชื่อประชาชาติรายวัน หนังสือพิมพ์มีเนื้อหาสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยและคัดค้านระบอบการปกครองเผด็จการ ผลงานเขียนของกุหลาบ สายประดิษฐ์เริ่มถูกจับตามองจากฝ่ายระบอบการปกครองเผด็จการ ในช่วงนั้นกุหลาบ เริ่มมีความขัดแย้งกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

ในช่วงปี 1933 กุหลาบ สายประดิษฐ์ได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานหนังสือพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นตามคำเชิญของหนังสือพิมพ์อาซาฮีนานถึง 6 เดือน ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กุหลาบ สายประดิษฐ์คัดค้านรัฐบาลไทยของจอมพล ป. พิบูลสงครามที่จับมือกับกองทัพญี่ปุ่นจึงถูกรัฐบาลจับกุมข้อหากบฏต้องอยู่ในคุกนาน 3 เดือน ต่อมาในปี 1945 สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ญี่ปุ่นแพ้สงครามอย่างย่อยยับส่งผลให้จอมพล ป. พิบูลสงครามหมดอำนาจลง อย่างไรก็ตามท่ามกลางความสับสนจากกรณีในหลวงรัชการที่ 8 สวรรคตในปี 1947 จอมพล ป. พิบูลสงครามก็ทำรัฐประหารเพื่อให้ตัวกลับเข้าสู่อำนาจ กุหลาบ สายประดิษฐ์จึงถูกจอมพล ป. พิบูลสงครามจับเข้าคุกอีกครั้งติดคุกนานเกือบ 5 ปี

เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามถูกรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในปี 1957 และรัฐประหารอีกครั้งในอีก 1 ปีต่อมา กุหลาบ สายประดิษฐ์จึงต้องลี้ภัยในอยู่ในประเทศจีน ระหว่างใช้ชีวิตที่ประเทศจีนกุหลาบ สายประดิษฐ์เป็นนักเขียนไทยไม่กี่คนที่มีโอกาสจับมือกับเหมา เจ๋อตง อดีตประธานาธิบดีจีน รวมไปถึงการเดินทางไปประเทศรัสเซียโดยคำเชิญของรัฐบาลรัสเซีย ส่วนประเทศไทยในยุคนั้นตกอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และจอมพลถนอม กิตติขจร ยาวนานเกือบ 15 ปี จนถึงยุคที่ประชาธิปไตยเบ่งบานด้วยพลังคนหนุ่มสาว 14 ตุลาคม 1973 และ 6 ตุลาคม 1976

ผลงานของกุหลาบ สายประดิษฐ์ในวงการเขียนของไทยมีมากมาย ตลอดช่วงชีวิตที่อยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ ถูกจองจำในคุกและนอกคุก ทั้งที่สามารถเอ่ยชื่อหนังสือได้และเอ่ยชื่อหนังสือไม่ได้เพราะผิดกฏหมายในประเทศไทย เช่น ข้างหลังภาพ, สงครามชีวิต, ลูกผู้ชาย, แลไปข้างหน้า, จนกว่าเราจะพบกันอีก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลงานเพลงมากมายที่ยังคงได้รับการขับร้องอยู่จนถึงปัจจุบัน ในวัน 31 มีนาคม 2005 กุหลาบ สายประดิษฐ์ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่นของโลกจากองค์การยูเนสโก (UNESCO)

ภาพยนตร์ข้างหลังภาพสร้างจากผลงานเขียนชั้นเยี่ยมของศรีบูรพา

ที่มาของข้อมูล

กุหลาบ สายประดิษฐ์