ยุทธนาวีที่ซาลามิส (Battle of Salamis) สงครามครั้งสำคัญระหว่างกรีซและเปอร์เซีย

battle-of-salamis
Wars

ยุทธนาวีที่ซาลามิส (Battle of Salamis) สงครามครั้งสำคัญระหว่างนครรัฐกรีกและจักรวรรดิเปอร์เซียที่เกิดขึ้นในปี 480 ก่อนคริสต์ศักราช หรือ ประมาณ 2,500 ปีก่อน การรบครั้งนี้เกิดขึ้นบริเวรช่องแคบระหว่างเกาะซาลามิสทางตะวันตกของชายฝั่งกรุงเอเธนส์ นครรัฐกรีก กองทัพจักรวรรดิเปอร์เซียของจักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราชเดินทัพยาวนานหลายเดือนเพื่ออ้อมทะเลอีเจียน (Aegean Sea) เข้าโจมตีนครรัฐกรีกเป็นครั้งที่ 2 หลังจากทำสงครามยาวนานนับจาก 499-449 ก่อนคริสต์ศักราช

จักรวรรดิเปอร์เซียของจักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราชในยุคนั้นเจริญรุ่งเรืองและมีกำลังรบทางทหาร กองทัพขนาดใหญ่ จักรวรรดิเปอร์เซียในยุคนั้นยังไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลามเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 6 จักรวรรดิเปอร์เซียนำกำลังกองเรือรบขนาดใหญ่ประมาณ 1,200 ลำ โดยเป็นกองเรือจักรผสมจากเมืองต่าง ๆ ภายใต้การปกครองของจักวรรดิเปอร์เซีย เช่น ฟินิเชีย 300 ลำ ซิลิเชีย 100 ลำ อียิปส์ 200 ลำ ไซปรัส 150 ลำ เฮลเลสปอนต์ ฟรีเจีย 100 ลำ ไลเซีย 50 ลำ และเมืองอื่น ๆ กองทัพจักรวรรดิเปอร์เซียแม้จะขาดความเชี่ยวชาญในการเดินทัพทางเรือจึงใช้วิธีเดินทัพอ้อมตามแนวชายฝั่งทะเลอีเจียน (Aegean Sea)

นครรัฐกรีก ภายใต้การนำทัพของลีออนิดัส (Eurybiades) ชาวสปาร์ตาและเธอมิสโตคลีส (Themistocles) แม่ทัพชาวกรีก มีกำลังรบทางเรือที่น้อยกว่าโดยกองทัพเรือของนครรัฐกรีกในขณะนั้นมีกำลังรบทางเรือประมาณ 378 ลำ โดยเป็นกองเรือจากนครรัฐกรีกเอง 180 ลำ และกองเรือผสมจากเมืองต่าง ๆ เช่น คอริธ 40 ลำ ฟจีนา 30 ลำ ชาลซิส 20 ลำ เมการา 20 ลำ และเมืองอื่น ๆ นครรัฐกรีกได้วางแผนการล่อให้กองทัพเรือกองทัพจักรวรรดิเปอร์เซียเข้าทำการรบในช่องแคบซาลามีส โดยการเขียนจดหมายลวงว่าชาวนครรัฐกรีกยอมแพ้และกำลังจะหนี

กองทัพจักรวรรดิเปอร์เซียของจักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราชหลงกลและส่งกองเรือเข้าไปในช่องแคบซาลามีส เมื่อกองเรือขนาดใหญ่เข้ามาแออัดอยู่ในช่องแคบทำให้เกิดการชนกันเองระหว่างเรือรบด้านในและเรือรบที่พยายามดันเข้ามาจากด้านนอก ในขณะเดียวกันชาวนครรัฐกรีกมีความเชี่ยวชาญในด้านการเดินเรือมากกว่ากองทัพจักรวรรดิเปอร์เซีย ชาวกรีกรู้ทิศทางลมและกระแสน้ำ รวมไปถึงมีเทคโนโลยีเรือรับที่ทันสมัยในยุคนั้นเรียกว่าเรือไทรเรียม (Trireme) เรือเร็วที่ใช้ฝีพาย 170 คน และใบเรือขนาดใหญ่ หัวเรือติดตั้งอาวุธกระทุ้งเอาไว้ตัวเรือสามารถพุ่งเข้าชนเรือคู่ต่อสู้ด้วยความรวดเร็วและใช้อาวุธกระทุ้งท้องเรือคู่ต่อสู้ให้แตกทะลุจนเรือจม

เมื่อจักรพรรดิเซอร์ซีมหาราชมองเห็นว่ากองทัพเรือของตัวเองกำลังเสียเปรียบและถูกทำลายลงไปจำนวนมากจึงสั่งถอยทัพ นครรัฐกรีกได้รับชัยชนะยุทธนาวีที่ซาลามิสกลายเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของชาวกรีก เนื่องจากหลังจากนั้นกองทัพจักรวรรดิเปอร์เซียของจักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราชได้ไม่ทำการยกทัพเข้ามารุกรานนครรัฐกรีกอีกเลย นครรัฐกรีกเจริญรุ่งเรืองกลายเป็นแหล่งสะสมวิทยาการ แม้จะพ่ายแพ้ในยุทธนาวีที่ซาลามิสจักรวรรดิเปอร์เซียยังคงมีอำนาจอยู่จนกระทั่งถูกพิชิตโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช จอมกษัตริย์กรีกโบราณแห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ในช่วงปี 330 ปีก่อนคริสต์ศักราช ส่วนจักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราชสวรรคตไปตั้งแต่ช่วงปี 465 ก่อนคริสต์ศักราช

ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 5 นครรัฐกรีกเจริญเติบโตด้านต่าง ๆ แนวคิดการปกครองแบบประชาธิปไตยถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนเป็นแนวคิดประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) ประชาชนมีส่วนร่วมการปกครองโดยตรงยังไม่พัฒนาการเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (Representative Democracy) อย่างไรก็ตามนครรัฐกรีกหรืออารยธรรมกรีกก็ได้รับการยกให้เป็นต้นกำเนิดแนวคิดประชาธิปไตยแบบตะวันตก แนวคิดการเมืองการปกครองที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการกับหนดทิศทางอนาคตของประเทศมากที่สุด ตรงกันข้ามกับแนวคิดเผด็จการทหารที่รัฐถูกปกครองด้วยกลุ่มอำนาจเดียวโดยใช้กำลังทหารหรือเครื่องมือ อาวุธ ในการข่มเขงบีบบังคับประชาชน

แผนที่แสดงการเดินทางของเปอร์เซีย

แผนที่แสดงการรบบริเวณช่องแคบซาลามิส

ที่มาของข้อมูล

Battle of Salamis