ปฏิบัติ Operation Meetinghouse การทิ้งระเบิดทำลายกรุงโตเกียว

operation-meetinghouse-bombing-of-tokyo
Wars

ในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้รับคำสั่งให้โจมตีทำลายกรุงโตเกียว เครื่องบิน B-29 Superfortress เครื่องบินทิ้งระเบิดที่ทันสมัยมากที่สุดในยุคนั้นประมาณ 325 ลำ ทิ้งระเบิดหนักตลอดวันที่ 9-10 มีนาคม ค.ศ. 1945 โดยใช้ปฏิบัติการชื่อว่า Operation Meetinghouse

กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นพยายามใช้ปืนต่อสู้อากาศยาน 600 กว่ากระบอกและเครื่องบินขับไล่ประมาณ 100 ลำ บินขึ้นสกัด แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากเทคโนโลยีการบินของอเมริกาและความสามารถในการป้องกันตัวเองของ เครื่องบิน B-29 Superfortress อย่างไรก็ตามเครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐอเมริกาก็ถูกสอยตกลงมาประมาณ 14 ลำ นักบิน 96 นายเสียชีวิตและหายสาบสูญ

ในช่วงวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกาเริ่มใช้ระเบิดเพลิง M69 Napalm ที่มีชื่อเรียกเล่น ๆ ในกลุ่มทหารอากาศสหรัฐอเมริกาว่า “Tokyo calling cards” ระเบิดรุ่นนี้สามารถเผาทำลายบ้านเรือนของชาวญี่ปุ่นที่ส่วนใหญ่สร้างจากไม้และกระดาษได้อย่างรุนแรงจนราพณาสูรไม่เหลือร่องรอยบ้านเรือนและเผาทำลายศพชาวญี่ปุ่นจนกลายแทบไม่เหลือสภาพร่างกาย

ผลจากการทิ้งระเบิดในครั้งนี้ทำให้พลเรือนชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตไปกว่า 100,000 คนและอีกกว่า 3,000,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย การทิ้งระเบิดในครั้งนี้นับเป็นการทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายพลเรือนครั้งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงท้ายของสงครามเทคโนโลยีการบินของญี่ปุ่นและความสามารถในการป้องกันตัวเองของญี่ปุ่นไม่สามารถไล่ทันกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ เครื่องบินญี่ปุ่นกลายเป็นเครื่องบินกระดาษที่ถูกนักบินสหรัฐอเมริกายิงตกเป็นว่าเล่น กองทัพญี่ปุ่นขาดแคลนเทคโนโลยี ทรัพยากร รวมไปถึงนักบินที่มีความสามารถและมีประสบการณ์

เครื่องบิน B-29 Superfortress กำลังทิ้งระเบิด ที่มาของภาพ : United States Air Force Historical Research Agency
ภาพกรุงโตเกียวที่ถูกทำลาย ที่มาของภาพ : US Army Signal Corps

สงครามเป็นการแสดงด้านมืดของมนุษย์ที่โหดร้ายมากที่สุด ในมุมหนึ่งสงครามอาจไม่เหมือนสิ่งที่เราพบเห็นในภาพยนตร์ที่มีผู้ร้ายกับฝ่ายพระเอก สงครามมันมีแต่ความสูญเสียและทุก ๆ ฝ่ายเสียหาย สิ่งที่ควรเรียนรู้จากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ไม่ใช่ความเกลียดชังชนชาติใดชนชาติหนึ่งแต่ควรเป็นการเรียนรู้ถึงความโหดร้ายนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงครามขึ้นอีกครั้งไม่ว่าดินแดนประเทศไหนก็ตาม

เรียบเรียงโดย THE HISTORY NOW

กดติดตาม THE HISTORY NOW รวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจทั้งด้านประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม สงคราม ประเพณี บุคคลสำคัญ เทคโนโลยี วันนี้ในอดีต เพื่อขับเคลื่อนสังคมแห่งแบ่งปันข้อมูลและการเรียนรู้ในประเทศไทย

กดติดตามผ่าน Website | https://www.thehistorynow.com/
กดติดตาม Like Fanpage | https://www.facebook.com/thehistorynow
กดติดตาม Follow blockdit | https://www.blockdit.com/thehistorynow
กดติดตาม Follow Twitter | www.twitter.com/TheHistoryNowth
กดติดตาม Follow Instagram | www.instagram.com/thehistorynow