สมรภูมิเมืองอินชอน (Battle of Inchon)

battle-of-inchon
Wars

การยกพลขึ้นบนที่เมืองอินชอนเมืองท่าชายฝรั่งตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโซลนับเป็นการรบครั้งสำคัญในสงครามเกาหลี กองกำลังสหประชาชาตินำโดยสหรัฐอเมริกาได้ใช้กำลังทหารกว่า 40,000 – 75,000 นาย เข้าต่อสู้กับทหารเกาหลีเหนือที่ยึดเมืองอินชอนและกรุงโซล การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือดและนับเป็นการยกพลขึ้นบกครั้งสำคัญมากที่สุดครั้งหนึ่งจับจากการยกพลขึ้นในวันดีเดย์ ณ ชายหาดแคว้นนอร์ม็องดีประเทศฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2

เหตุการณ์ก่อนการยกพลขึ้นบกที่เมืองอินชอน

ย้อนไปภายหลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตประชุมในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเพื่อตกลงปักปันเขตแดนบนแผ่นดินคาบสมุทรเกาหลีปัญหาอย่างหนึ่งคือคาบสมุทรเกาหลีไม่มีพรมแดนธรรมชาติที่ชัดเจนทั้ง 2 ฝ่ายเลยทำข้อตกลงใช้เส้นขนาดที่ 38 เป็นพรมแดนระหว่างเกาหลีเหนือที่ได้รับการสนับสนุนโดยสหภาพโซเวียตปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ เกาหลีใต้ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตามกองทัพเกาหลีใต้ในขณะนั้นมีสภาพที่อ่อนแอด้านกำลังรบเนื่องจากสหรัฐอเมริกาวางกำลังรบส่วนใหญ่ไว้ในญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และมหาสมุทรแปซิฟิกเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่งจบลงได้ไม่นานนักสหรัฐอเมริกาต้องการความมั่นใจว่าสามารถควบคุมพื้นที่ทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิกส่งผลให้เกาหลีใต้ถูกละเลยความสำคัญ

ต่อมาในวันที่ 25 มิถุนายน 1950 คิมอิล-ซุงผู้นำเกาหลีเหนือที่ได้รับการสนับสนุนจากโจเซฟสตาลินผู้นำสหภาพโซเวียติและเหมาเจ๋อตงผู้นำประเทศจีนได้ส่งทหารจำนวน 100,000 นายพร้อมกองทัพรถถังขนาดใหญ่บุกข้ามเส้นขนานที่ 38 เข้าสู่เกาหลีใต้ กองทัพเกาหลีใต้ที่อ่อนแอไม่มีแม้กระทั่งรถถังใช้ต่อสู้ในสงครามได้ล่าถอยอย่างรวดเร็ว

การล่าถอยเป็นไปอย่างชุลมุนวุ่นวายทหารเกาหลีใต้ระเบิดสะพานแม่น้ำฮันใจกลางกรุงโซลทิ้งส่งผลให้ชาวเกาหลีใต้จำนวนไม่สามารถหนีได้ส่วนซึงมัน อีประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในขณะนั้นร้องขอความช่วยเหลือจากกองกำลังสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกา โดยเกาหลีใต้เหลือที่มั่นสุดท้ายอยู่ที่เมืองปูซาน ชายฝั่งตะวันออกของประเทศ

วันที่ 27 มิถุนายน 1950 สหประชาชาติและสหรัฐอเมริกาตอบสนองอย่างรวดเร็วด้วยการรับรองมติส่งกำลังรบทางทหารเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้อย่างเร่งด่วนโดยใช้กำลังชุดแรกที่ประจำการอยู่ในประเทศญี่ปุ่น สหประชาชาติได้ร้องขอให้ชาติสมาชิกส่งกำลังทหารเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้รวมถึงประเทศไทยในขณะได้ส่งทรัพยากรด้านอาหารข้าวสารและกำลังรบทางทหารไปช่วยเกาหลีใต้

อ่านเพิ่มเติม : อนุสาวรีย์ทหารไทยในสงครามเกาหลี (Thai Soldier Monument)

การยกพลขึ้นบกที่เมืองอินชอนในวันที่ 15 กันยายน 1950

สหรัฐอเมริกาในยุคนั้นมีประธานาธิบดีทรูแมนเป็นประธานาธิบดี กล่าวกันว่าตัวประธานาธิบดีทรูแมนมีความลังเลต่อการตัดสินใจเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้อย่างไรก็ตามก็เปลี่ยนใจในภายหลังเมื่อมองเห็นความพยายามขยายอำนาจของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียตและประเทศจีนส่งผลให้สหรัฐอเมริกาตัดสินใจเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้โดยให้เหตุผลว่าลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังรุกรานเกาหลีใต้เป็นสิ่งที่เลวร้ายต่อมวลมนุษย์เช่นเดียวกับ อดอฟ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เบนิโต มุสโสลินีและฮิเดกิ โทโจ เคยกระทำในสงครามโลกครั้งที่ 2

กองกำลังสหประชาชาติในขณะนั้นมีนายพลดักลาส แมกอาเธอร์เป็นผู้บัญชาการ ดักลาส แมกอาเธอร์สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในการทำสงครามกับจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมไปถึงเป็นบุคคลสำคัญที่ควบคุมสถานกาาณ์ในญี่ปุ่นภายหลังญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แผนการของนายพลดักลาส แมกอาเธอร์ คือ การนำกำลังทหารยกพลขึ้นบกที่เมืองโพฮังทางตอนเหนือของเมืองปูซานเพื่อเคลื่อนกำลังทหารเข้าช่วยเหลือทหารเกาหลีใต้ชุดสุดท้ายที่รักษาเมืองปูซาน จากนั้นส่งกำลังบำรุงและทรัพยากรสงครามเข้าเสริมให้เมืองปูซานมีความแข็งแกร่งจนทหารเกาหลีเหนือไม่สามารถตีแตกได้

ภายหลังเมืองปูซานปลอดภัยและอยู่ภายใต้ความควบคุมนายพลดักลาส แมกอาเธอร์ตัดสินโจมตีไปยังเมืองอินชอนซึ่งเป็นเมืองที่ทหารเกาหลีเหนือวางกำลังไว้หนาแน่นสุดเนื่องจากเป็นประตูด่านแรกก่อนเข้าสู่กรุงโซลเมืองหลวงของเกาหลีใต้ในขณะนั้น รวมไปถึงทหารเกาหลีเหนือได้ใช้กรุงโซลเป็นจุดวางกำลังระบบสื่อสาร กำลังสนับสนุนที่ถูกส่งจากเกาหลีเหนือ นายพลดักลาส แมกอาเธอร์ต้องการให้การโจมตีที่กำลังเกิดขึ้นจะต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว รุงแรงและเด็ดขาดเพื่อหลีกเหนือฤดูหนาวที่โหดร้ายบริเวณคาบสมุทรเกาหลี

ก่อนการยกพลขึ้นบกที่เมืองอินชอน กองกำลังสหประชาชาติได้สร้างแผนลวงขึ้นโดยการส่งเครื่องบินและเรือรบจำนวนหนึ่งยิงปืนใหญ่จากเรือถล่มเมืองท่าไอรีหรือเมืองอิซานในปัจจุบันตั้งอยู่ชายฝั่งทิศตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรเกาหลีเพื่อเบี่ยงแบนความสนใจให้ทหารเกาหลีเหนือคิดว่ากองกำลังสหประชาชาติจะยกพลขึ้นบกที่เมืองท่าไอรี ในขณะเดียวกันก็ได้ส่งหน่วยรบพิเศษจำนวนหนึ่งแอบขึ้นชายฝั่งเมืองอินชอนเพื่อวัดระดับน้ำ ความลึก การขึ้นลงของน้ำทะเล รวมไปถึงการส่งสายลับชาวเกาหลีใต้เดินทางเข้าไปในบริเวณเมืองอินชอนเพื่อทำการรวบรวมข่าวกรอง กล่าวกันว่าชายหาดเมืองอินชอนมีน้ำขึ้นน้ำลงที่รุนแรงและมีชายหาดโคลนที่ยาวมากแห่งหนึ่ง หน่วยรบพิเศษจึงซ่อนตัวและทำการทดสอบระดับน้ำอยู่นานถึง 2 สัปดาห์

แผนการยกพลขึ้นบกเมืองอินชอน ที่มาของภาพ wikipedia.org
การยิงถล่มชายหาดอินชอนโดยเรือพิฆาต USS Lyman K. Swenson กองทัพเรือสหรัฐฯ ที่มาของภาพ history.navy.mil

10 กันยายน 1950 กองเรือขนาดใหญ่ของกองกำลังสหประชาชาติเดินทางถึงบริเวณอ่าวเมืองปูซาน เครื่องบินทิ้งระเบิดนาปาล์มเผาทำลายแนวป้องกันของเกาหลีเหนือประกอบกับการยิงถล่มด้วยเรือลาดตระเวนหนักสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น เช่น เรือลาดตระเวนหนัก USS Rochester เรือลาดตระเวนหนัก USS Toledo เรือลาดตระเวนเบาของอังกฤษ HMS Jamaica และ HMS Kenya กล่าวกันว่าการยิงถล่มและทิ้งระเบิดเมืองปูซานอาจยาวนานต่อเนื่องกว่า 5 วัน 5 คืน จนกระทั่งการยกพลขึ้นเกิดขึ้นในวันที่ 15 กันยายน 1950

นายพลดักลาส แมกอาเธอร์เดินทางไปบัญชาการรบด้วยตัวเอง ที่มาของภาพ National Archives and Records Administration

การยกพลขึ้นบกของกองกำลังสหประชาตินายพลดักลาส แมกอาเธอร์แบ่งกำลังรบออกเป็น 3 ชุดได้แก่ Red Beach , Green Beach ยกพลขึ้นบนทางชายหาดด้านทิศตะวันตกของเมืองอินชอน Blue Beach ยกพลขึ้นบกทางด้านชายหาดทิศใต้ของเมืองอินชอน ในระหว่างการยกพลขึ้นบกนายพลดักลาส แมกอาเธอร์เข้าบัญชาการรบด้วยตัวเองโดยประจำการอยู่บนเรือบัญชาการรบ USS Mount McKinley

การรบเป็นไปอย่างดุเดือดในช่วงวันที่ 17 กันยายน 1950 กองกำลังสหประชาชาติสามารถบุกเข้าถึงสนามบินคิมโพ ปัจจุบันคือสนามบินนานาชาติคิมโพตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเขตคังซอของกรุงโซล เมื่อถึงการรบในช่วงนี้ถือเป็นช่วงท้าย ๆ ของการยกพลขึ้นบกที่เมืองอินชอน กองกำลังของสหประชาชาติรุกคืบเข้าใกล้กรุงโซลและสามารถปลดปล่อยเมืองอินชอนได้สำเร็จ โดยมีเป้าหมายต่อไป คือ การรุกเข้าปลอดปล่อยกรุงโซลจากทหารเกาหลีเหนือ การสู้รบในสงครามเกาหลีเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายเจรจาหยุดยิงในวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 ภายหลังการต่อสู้ยาวนานกว่า 3 ปี ส่งผลให้มีประชาชนชาวเกาหลีรวมไปถึงชีวิตของทหารทั้งสองฝ่ายเสียชีวิตจำนวนมาก

ที่มาของข้อมูล

Battle of Inchon
Korean War – Battle of Inchon | 1950 | Fight for Seoul | US Invasion of the Korean Peninsula
Korean War Timeline