สงครามเย็นเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างฝ่ายโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกาและฝ่ายสภาพโซเวียตหรือประเทศรัสเซียช่วงปี 1945- 1989 สงครามเย็นมีลักษณะเป็นการแข่งขันทางการเมือง สงครามตัวแทนในประเทศอื่น เทคโนโลยีอวกาศ อาวุธนิวเคลียร์ ขีปนาวุธข้ามทวีป การพยายามก้าวเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจ สังคม ในกลุ่มประเทศที่มีข้อพิพาทด้านอุดมการณ์ประชาธิปไตยและเผด็จการคอมมิวนิสต์
กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall)
กำแพงเบอร์ลิน สัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของสงครามเย็น หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงแบ่งประเทศเยอรมันนีที่ล่มสลายออกเป็นประเทศเยอรมันฝั่งตะวันออกที่สนับสนุนโดยสหภาพโซเวียตและฝั่งเยอรมันตะวันตกที่สนับสนุนโดยสหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส กำแพงเบอร์ลินเริ่มต้นก่อสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 1961 ความยาวประมาณ 155 กิโลเมตร ในระหว่างก่อสร้างและหลังจากกำแพงสร้างเสร็จมียาวเยอรมันตะวันออกพยายามหนีชีวิตในโลกเผด็จการคอมมิวนิสต์มายังเยอรมันตะวันตกซึ่งเป็นโลกเสรีภาพเสียชีวิตกว่า 200 คน การทุบทำลายกำแพงเบอร์ลินเกิดขึ้นระหว่างปี 1989-1990 หลังการยุติสงครามเย็นอย่างเป็นทางการ
อาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Weapon)
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อาวุธนิวเคลียร์ได้รับการพิสูจน์ถึงพลังการทำลายล้างที่น่าสพึงกลัว ในขณะเดียวกันประเทศที่ครอบครองเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นชาติมหาอำนาจ ด้วยเหตุผลข้างต้นทำให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตพยายามพัฒนาอาวุธนิเคลียร์ สหรัฐอเมริกาสามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนสหภาพโซเวียติไม่มีความคืบหน้าด้านเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์จนกระทั่งสายลับโซเวียติที่แผงตัวอยู่ในโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาลักลาบส่งเอกสารพิมพ์เขียวการสร้างอาวุธนิวเคลียร์กลับไปยังสหภาพโซเวียต
ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาครอบครองอาวุธหัวรบนิวเคลียร์กว่า 6,450 ลูก ระเบิดนิวเคลียร์ลูกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชื่อว่าแคสเซิลบราโว (Castle Bravo) ขนาดแรงระเบิดของซาร์บอมบาประมาณ 15 เมกะตันทีเอ็นที สหภาพโซเวียตครอบครอบครองอาวุธหัวรบนิวเคลียร์กว่า 6,850 ลูก ระเบิดนิวเคลียร์ลูกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชื่อว่าซาร์บอมบา (Tsar Bomba) มีพลังทำลายล้างมากที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาขนาดแรงระเบิดของซาร์บอมบาประมาณ 50 – 58 เมกะตันทีเอ็นที หากซาร์บอมบาถูกทิ้งใส่กรุงเทพมหานครสามารถละลาทุกสิ่งทุกอย่างในกรุงเทพมหานครให้หายไปในพริบตารวมไปฆ่าประชากรที่อาศัยในจังหวัดปริมณฑลทั้งหมดรอบกรุงเทพมหานครและอีกหลายสิบล้านคนในภาคกลางของไทยจากกัมมันตภาพสังสี
สงครามตัวแทน (Proxy War)
ในระหว่างสงครามเย็นมีขั้วอำนาจทั้งสองฝ่ายได้สร้างสงครามตัวแทนขึ้นโดยการส่งกำลังงอาวุธและทรัพยากรสงครามด้านต่าง ๆ ให้กับประเทศที่ตัวเองให้การสนับสนุน สงครามตัวแทนครั้งสำคัญ เช่น สงครามเกาหลีเกิดขึ้นระหว่างปี 1950-1953 เป็นการสู้รบระหว่างเกาหลีเหนือที่สหภาพโซเวียตรวมไปถึงประเทศจีนให้การสนับสนุนทางการทหารและเกาหลีใต้ที่สหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรรวมถึงประเทศไทยให้การสนับสนุนทางการทหาร สงครามครั้งนี้ส่งผลให้ทหารและพลเรือน บาดเจ็บ เสียชีวิตและหายสาบสูญกว่า 2.5 ล้านคน ผลของสงครามคาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็นประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ สงครามเกาหลีเกือบนำโลกเข้าสู่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 3 สงครามนิวเคลียร์ล้างโลกซึ่งอาจเป็นจุดสิ้นสุดของอารยธรรมมนุษยชาติ
สงครามเวียดนามเกิดขึ้นระหว่างปี 1955-1975 เป็นการสู้รบระหว่างเวียดนามเหนือที่สหภาพโซเวียตให้การสนับสนุนทางการทหารและเวียดนามใต้ที่สหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรรวมถึงประเทศไทยให้การสนับสนุนทางการทหาร สงครามครั้งนี้ส่งผลให้ทหารและพลเรือน บาดเจ็บ เสียชีวิตและหายสาบสูญกว่า 4 ล้านคน ผลของสงครามเวียดนามเหนือเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะและปกครองประเทศเวียดนามมาจนถึงปัจจุบัน
การแข่งขันด้านเทคโนโลยีอวกาศและส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ (Space Race)
การแข่งขันด้านเทคโนโลยีอวกาศในช่วงสงครามเย็นเป็นช่วงที่มีการก้าวกระโดดครั้งสำคัญของเทคโนโลยีที่จะเป็นรากฐานสำคัญของสร้างอารยธรรมนุษย์ชาติในเวลาต่อมา สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตแข่งขันกันด้านเทคโนโลยีอวกาศและส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์เพื่อประชาสัมพันธ์แนวคิดของประเทศตัวเอง โดยทั้งสองประเทศได้รับเทคโนโลยีจรวดจากนาซีเยอรมันในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้การแข่งขันด้านเทคโนโลยีอวกาศจะเริ่มต้นด้วยชัยชนะของสหภาพโซเวียตที่ประสบความสำเร็จในการส่งมนุษย์คนแรกยูริ กาการินขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 12 เมษายน 1961 อย่างก็ตามฝ่ายสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ชนะอย่างแท้จริงเมื่อประสบความสำเร็จในการส่งมนุษย์คนแรกนีล อาร์มสตรองไปเหยียบดวงจันทร์โดยยานอะพอลโล 11 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 1969
บทสรุปสงครามเย็น
สงครามเย็นยุติลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ธันวาคม 1991 พร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ภายหลังจากการใช้นโยบายปรับโครงสร้างทางการเมือง การทหารและเศรษฐกิจ กลัสนอสต์ (Glasnost) และเปเรสตรอยคา (Perestroika) ประธานาธิบดีกอร์บาชอฟลาออกจากตำแหน่งและประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน เปลี่ยนธงชาติสหภาพโซเวียตเป็นธงชาติรัสเซียในปัจจุบัน สงครามเย็นความเสียหายและรอยบาดแผลจากด้านมืดของมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งกลายเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีที่สำคัญในยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสงครามเย็นเป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่ควรป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นไม่ว่าในยุคนี้หรืออนาคต
ที่มาของข้อมูล