ยุทธการทาราวะ (Battle of Tarawa)

Wars

20 พฤศจิกายน 1943 ยุทธการทาราวะ (Battle of Tarawa) กองทัพสหรัฐอเมริกายกพลขึ้นบกเกาะแนวปะการังทาราวะ การรบเป็นไปอย่างดุเดือด 3 วัน ทหารอเมริกันจึงยึดเกาะได้ สำเร็จ แม้การยกพลขึ้นบกจะเกิดความผิดพลาดในการสื่อสาร ยุทธการทาราวะการยกพลรุกครั้งแรกในแปซิฟิกกลางของกองทัพสหรัฐอเมริกา

กองทัพสหรัฐอเมริาใช้กองพลสะเทินน้ำสะเทินบกจากฐานทัพ รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนการโจมตีเคลื่อนกำลังมารวมกันที่ฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ในช่วงเดือนกันยายน 1943 หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและกองเรือที่ 5 กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน 5 ลำ หรือประจัญบาน 3 ลำ เรือลำเลียงพลและเรือรบอีกเป็นจำนวนมาก รวมกำลังพลทั้งหมดที่สหรัฐอเมริกาใช้โจมตีเกาะปะการังทาราวะประมาณ 53,000 นาย

กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นทราบข่าวการมาถึงของกองทัพสหรัฐอเมริกาล่วงหน้าแต่ด้วยความขาดแคลนกำลังรบทางทหารและการผสานกำลังรบทางเรือทำให้เหลือกำลังพลป้องกันเกาะปะการังทาราวะประมาณ 5,000 นาย เกือบครึ่งหนึ่งเป็นแรงงานชาวญี่ปุ่นและแรงงานทาสชาวเกาหลีที่ถูกทหารญี่ปุ่นบังคับให้มาใช้แรงงาน รถถัง 14 คัน ปืนใหญ่ขนาดต่าง ๆ ประมาณ 50 กระบอก

เกาะแนวปะการังทาราวะ มีลักษณะเป็นเกาะปะการังมีทะเลสาบน้ำเค็ม น้ำตื้น ขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางล้อมรบด้วยเกาะเล็ก ๆ มากมาย เกาะแนวปะการังทาราวะทั้งเกาะเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะกิลเบิร์ตห่างจากฐานทัพเรือพิร์ลฮาร์เบอร์ประมาณ 3,900 กิโลเมตร กองทัพญี่ปุ่นวางกำลังรับและสร้างสนามบินไว้บริเวณเกาะเล็ก ๆ ด้านตะวันตกริมสุดของเกาะแนวปะการังทาราวะชื่อว่าเกาะเบทิตู (Betio Island) ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการยกพลขึ้นบในครั้งนี้ของกองทัพสหรัฐอเมริกา

กองทัพสหรัฐอเมริกาแบ่งเป้าหมายบนชายหาดของเกาะเบทิตูเอาไว้เป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ชายหาดด้านทิศเหนือ Red 1-3 ชายหาดด้านทิศตะวันตก Green 1 และชายหาดด้านทิศใต้ Black 1-2 ส่วนทิศตะวันออกของเกาะเบทิตูเป็นเพียงสันทรายทอดยาวไม่มีที่ตั้งทางทหารของกองทัพญี่ปุ่น

20 พฤศจิกายน เวลาประมาณ 06.00 น. ก่อนการยกพลขึ้นบกกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ใช้เครื่องบินประมาณ 17 ลำบินทิ้งระเบิดใส่แนวป้องกันของกองทัพญี่ปุ่น บางรายงานระบุว่ามีเครื่อ่งบินจากเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Enterprise ที่ประจำตำแหน่งอยู่บริเวณเกาะมาคิน (Makin Island) ทางทิศเหนือของเกาะแนวปะการังทาราวะเข้าร่วมโจมตีสนับสนุนผสมการใช้ปืนใหญ่จากกองเรือหลายสิบลำระดมยิงถล่มอย่างไม่หยุดหย่อนนานหลายชั่วโมง พลเรือตรีไคจิ ซิบาซากิ ผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นบนเกาะเบทิโอเสียชีวิตในเช้าวันแรกระหว่างการถูกยิงถล่มจากปืนใหญ่ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

เวลาประมาณ 09.00 น. กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาปล่อยทหารนาวิกโยธินลงเรือสะเทินน้ำสะเทินบกเคลื่อนเข้าสู่เกาะเบทิตู (Betio Island) แม้จะไม่พบกับการต่อต้านมากนักแต่การยกพลขึ้นบกเป็นไปอย่างยากลำบากเรือไม่สามารถเข้าจอดริมชายหาด Red 1-3 ได้เนื่องจากระดับน้ำในทะเลสาบตื้นเกินไป ทหารนาวิกโยธินพยายามวิทยุไปรายงานความคืบหน้ายังกองบัญชาการแต่ไม่สำเร็จจึงพยายามเคลื่อนพลไปยังท่าเรือแนวหินยาวยื่นออกมาไกลจากแนวชาวหาด เมื่อทหารญี่ปุ่นเห็นทิศทางการเคลื่อนพลของทหารสหรัฐจึงระดับยิงไปยังแนวท่าเรือดังกล่าว ทหารนาวิกโยธินจำนวนมากจึงติดอยู่บริเวณท่าเรือแห่งนั้น

อย่างไรก็ตามมีหน่วยทหารนาวิกโยธินบริเวณ Red 1 มองเห็นจุดที่กองทัพญี่ปุ่นวางกำลังป้องกันไว้น้อยด้านริมสุดของบริเวณ Red 1 จึงเข้าโจมตีบริเวณจุดนั้นจนสามารถยกพลขึ้นบกได้สำเร็จ ส่งผลให้แนวป้องกันส่วนอื่น ๆ ของญี่ปุ่นเริ่มแตกและทหารนาวิกโยธินสหรัฐเริ่มเข้าสู่บริเวณสนามบินบนเกาะเบทิตูได้ในช่วงเวลาแรกของการยกพลขึ้นบก

อย่างไรก็ตามด้วยการวางกำลังรบที่เหนียวแน่นและเตรียมการตั้งรับมาเป็นอย่างดี เนินทรายสูงบนเกาะที่ทหารสหรัฐอเมริกามองเห็นแท้จริงแล้วเป็นป้อมปราการที่ถูกฝังกลบด้วยทรายและต้นมะพร้าวเพื่อตบตาทหารสหรัฐอเมริกา การตีฝ่าป้อมปราการแต่ละแห่งต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง ผสานการโจมตีด้วยปืนใหญ่จึงสามารถตีป้อมให้แตกได้ ทหารญี่ปุ่นหลายนายตัดสินใจฆ่าตัวตายแทนการถูกจับเป็นเชลย เกาะเบทิตู (Betio Island) ถูกตีแตกทั้งเกาะในวันที่ 22 พฤศจิกายนและใช้เวลาในเครียพื้นที่เกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ ทั้งหมดจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน เกาะแนวปะการังทาราวะทั้งหมดจึงถูกยืดโดยทหารสหรัฐอเมริกาได้อย่างสมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม : ยุทธการมาคิน (Battle of Makin)

การรบในยุทธการทาราวะเกิดขึ้นหลังจากกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ประมาณ 2 ปี การรบยุทธนาวีที่มิดเวย์ประมาณ 1 ปี 4 เดือน การรบในพม่าช่วงที่ญี่ปุ่นเริ่มแพ้อังกฤษประมาณ 10 เดือน ประมาณ 8 เดือนหลังจากสหรัฐอเมริกาสังหารจอมพลเรือ อิโซโรกุ ยามาโมโตะได้สำเร็จ และหลังจากญี่ปุ่นแพ้ในการรบที่กัวดาคาแนลประมาณ 9 เดือน สาเหตุที่เรียงลำดับช่วงเวลาเนื่องจากอยากให้เห็นภาพว่าเป็นการรบในช่วงท้าย ๆ ของสงครามเป็นช่วงเวลาประมาณ 2 ปีกว่า ๆ ที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และไม่เหลือหนทางแห่งชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2

แผนที่เกาะแนวปะการังทาราวะ (Tarawa Atoll)

เกาะแนวปะการังทาราวะ (Tarawa Atoll)
เกาะเบทิตู (Betio Island)

ที่มาของข้อมูล

Battle of Tarawa