ยุทธการกรุงมอสโก (Battle of Moscow) ความพ่ายแพ้ของกองทัพนาซีเยอรมัน

Wars

2 ตุลาคม ค.ศ. 1941 ยุทธการกรุงมอสโก (Battle of Moscow) กองทัพนาซีเยอรมันเปิดปฏิบัติการไต้ฝุ่นรุกรานกรุงมอสโกสหภาพโซเวียตแต่ต้องพบการต้านทานอย่างหนักจากสหภาพโซเวียต กองทัพนาซีเยอรมันบุกได้ไกลสุดเพียงพื้นที่ป้ายรถเมล์ชานเมืองกรุงมอสโกประกอบกับฤดูหนาวที่โหดร้ายจนตกเป็นฝ่ายล่าถอยและพบกับความสูญเสียอย่างหนักในสงครามโลกครั้งที่ 2

สหภาพโซเวียตและลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นเป้าหมายสำคัญของการต่อสู้ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์นับตั้งแต่การก้าวขึ้นสู่อำนาจของพรรคนาซีเยอรมัน แม้ว่านาซีเยอรมันจะเซ็นสัญญาไม่รุกรานกับสหภาพโซเวียตแต่เป็นเพียงแผนการดึงเวลาเท่านั้น ยุทธการกรุงมอสโกเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา (Operation Barbarossa) ที่เริ่มต้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941

ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา (Operation Barbarossa) ปฏิบัติการทางทหารของนาซีเยอรมันเพื่อรุกรานสหภาพโซเวียต ปฏิบัติการนี้เกิดขึ้นในระหว่างที่กองทัพนาซีกำลังโจมตีประเทศอังกฤษและประเทศอังกฤษที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาไม่มีท่าทีของการยอมแพ้เท่ากับว่าการตัดสินในของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์นำไปสู่การเปิดศึกสองด้าน แม้นายทหารเสนาธิการหลายคนจะพยายามคัดค้าน

กองทัพนาซีเยอรมันปฏิบัติการรุกสายฟ้าแลปแยกเป็น 2 เส้นทาง โดยใช้หน่วยยานเกราะแพนเซอร์ที่ 3 และยานเกราะแพนเซอร์ที่ 4 รุกเข้าทางด้านเหนือเพื่อตัดเส้นทางเชื่อมระหว่างเมืองเลนินกราดหรือเมืองเซ็นต์ ปีเตอร์สเบิร์กในปัจจุบันกับกรุงมอสโก หน่วยยานเกราะแพนเซอร์ที่ 4 มีเป้าหมายรุกเข้ากรุงมอสโก พร้อมกันนั้นหน่วยยานเกราะแพนเซอร์ที่ 2 จะทำการรุกเข้าทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงมอสโกบริเวณเมืองทูลา กองทัพนาซีเยอรมันใช้กำลังทหารรวมทั้งหมดกว่า 2 ล้านนาย รถถัง 1,000-2,470 ปืนใหญ่ขนาดต่าง ๆ 14,000 กระบอก

ประเด็นกำลังรบของกองทัพนาซีเยอรมันผู้เขียนมองว่ากองทัพเยอรมันขาดเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ระยะไกลและพึ่งพาการรบด้วยรถถังเป็นหลัก การใช้การรบด้วยรถถังภาคพื้นดินมีความสูญเสียได้มากกว่าเป็นการปะทะกันระยะใกล้สามารถทำลายได้เพียงกำลังรบทางทหารแต่ไม่สามารถรุกเข้าไปทำลายสายการผลิตอุตสาหกรรมสงครามของข้าศึกได้ ในขณะเดียวกันขีดความสามารถในการผลิตรถถังของกองทัพนาซีเยอรมันก็ไม่เพียงพอต่อการผลิตรถถังเพื่อทดแทนความสูญเสียในสงครามได้เพียงพอ

การต้านทางของกองทัพสหภาพโซเวียตในเมืองสตาลินกราดซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงมอสโก ยุทธการที่สตาลินกราด (Battle of Stalingrad) ส่งผลให้กองทัพนาซีไม่สามารถตีเมืองสตาลินกราดให้แตกพ่ายได้ กลายเป็นสงครามนองเลือดยาวนานตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1942 – 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 สร้างความโกรธแค้นให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ซึ่งในตอนนี้บัญชาการรบในสงครามด้วยความคิดของตัวเองเป็นหลักและออกคำสั่งให้แบ่งกำลังรบทางทหารเข้าไปช่วยเสริมการปิดล้อมเมืองสตาลินกราด

การบัญชาการกองทัพที่ผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่าของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ส่งผลให้การรุกรานกรุงมอสโกของกองทัพนาซีเยอรมันขาดความเด็ดขาดและรุนแรง ประกอบกับการต้านทานอย่างหนักและการประเมินศักยภาพการผลิตรถถัง เครื่องบินรบของสหภาพโซเวียตที่ผิดพลาด นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวสหภาพโซเวียตกำลังเข้าสู่ฤดูหนาวที่โหดร้ายทหารนาซีเยอรมันขาดเสบียง น้ำมัน อย่างหนักส่งผลให้การรบหยุดชะงัก

ยุทธการกรุงมอสโกจบลงในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1942 กองทัพนาซีเยอรมันตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และล่าถอยออกจากแนวรบรอบกรุงมอสโก ช่วงเวลาที่โหดร้ายเกือบ 3 เดือนทหารนาซีเยอรมันต้องเสียชีวิตไปกว่า 600,000 นาย ในขณะที่ทหารสหภาพโซเวียตเสียชีวิตจากการปกป้องกรุงมอสโกมากกว่า 1 ล้านนาย ความล้มเหลวในการรุกรานกรุงมอสโกนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้กองทัพนาซีเยอรมันพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

แผนที่แสดงการรุกรานกรุงมอสโก

ที่มาของข้อมูล

Battle of Moscow