นครศรีธรรมราชในผลงานเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์ ตอนที่ 1

CulturePeopleThailand & World

นครศรีธรรมราชเป็นเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการปกครองและวัฒนธรรมของพื้นที่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยในปัจจุบัน ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ที่ติดทะเลทำให้มีการเดินทางค้าขายผ่านพื้นที่บริเวณนี้มาแล้วอย่างน้อยมากกว่า 1,000 ปี แม้ว่าตามประวัติเมืองนครศรีธรรมก่อตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 700 ปี แต่พื้นที่บริเวณมีชุมชนโบราณและการเดินทางค้าขายมาก่อนหน้านั้นแล้ว

หนังสือ “สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา”

หนังสือ “สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา” ผลงานเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์ นักเขียนและนักคิดคนสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยได้เขียนอธิบายมุมมองต่าง ๆ ของเมืองนครศรีธรรมราชเอาไว้และมีข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่าง ทั้งหมดอยู่ในหนังสือเล่มดังกล่าว

จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เขียนอธิบายข้อมูลเมืองนครศรีธรรมราชเอาไว้โดยศึกษาจากบันทึกสมัยกรุงศรีอยุธยาและตั้งข้อสังเกตุว่าสำนวนภาษาและถ้อยคำมีความคล้ายกับภาษาของกลุ่มไตลื้อทางเหนือของจังหวัดเชียงราย ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่าผู้จดบันทึกดังกล่าวที่จิตร ภูมิศักดิ์กล่าวอ้างเป็นกลุ่มคนรุ่นหลังพระราเมศวรที่กวาดต้อนคนจากไทล้านนาลงไปยังพื้นที่ปักษ์ใต้ในระหว่าง พ.ศ. 1931-1938

ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองอินทปัตบุรีกับเมืองนครศรีธรรมราช

ท้าวศรีธรรมาโศกราช จากเมืองอินทปัตบุรี และน้องชายท้าวจัทรภาณุและท้าวพงษ์สุรา ผู้สร้างเมืองนครศรีธรรมราช สันนิฐานว่า ท้าวศรีธรรมาโศกราชราชวงศ์อาจเป็นราชวงศ์ที่สืบเชื่อสายมาจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 การอพยพได้มาพร้อมกับเครือญาติ เคลื่อนไพล่พล ช้างม้า วัวและควายจำนวนมากลงมาสร้างเมืองนครศรีธรรมราชใหม่ สำหรับชื่อศรีธรรมาโศกราชนั้นจิตร ภูมิศักดิ์ ได้อธิบายเอาไว้ว่ามีการใช้ซ้ำ ๆ ในหลายสมัยและพบบ่อยในตำราประวัติศาสตร์ต่าง ๆ แต่ชื่อแท้จริงมาจากพระเจ้าอโศกราชแห่งราชวงศ์เมาริยวงศ์ของอินเดียซึ่งเคยเรืองอำนาจในช่วงปี พ.ศ. 300

จิตร ภูมิศักดิ์ อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเมืองอินทปัตบุรีกับเมืองนครศรีธรรมราชเอาไว้เพิ่มเติมว่า ชนชั้นสูงของเมืองอินทปัตบุรีจำนวนมากนำภาษาและชื่อเรียกมาใช้ในเมืองใหม่โดยมีหลักฐานเกี่ยวกับชื่อเมืองทั้ง 12 เมือง ที่เป็นเขตอิทธิพลของเมืองนครศรีธรรมราชในอดีตที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เช่น เมืองบันทายสมอ ในภาษาเขมรแปลว่า ป้อม ค่าย ด่านหน้ารับศึก ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเป็นเมืองไชยาจังหวัดสุราษธานี

อย่างไรก็ตามเมืองบันทายสมอ อาจเป็นเพียงชื่อเรียกเมืองในภาษาเขมร เนื่องจากเมืองไชยามีประวัติบันทึกและกล่าวถึงมาแล้วอย่างน้อยในช่วงปี พ.ศ. 1200-1600 เป็นอย่างน้อย ตามบันทึกของหลวงจีนอี้จิงพระชาวจีนที่เดินทางมาถึงเมืองไชยาในปี พ.ศ. 1214 โดยอาศัยเรือสินค้าของชาวเปอร์เซียออกเดินทางมาจากเมืองกวางตุ้ง โดยเรียกเมืองไชยาว่า “โฟ-ชิ” หรือ “โพธิ” หรือ “ไช-ลิ-โฟ-ชิ” ตามสำเนียงกวางตุ้งที่เพี้ยนจากภาษาไทย

ชื่ออำเภอสทิงพระที่ชื่ออาจมีรากศัพท์มาจากภาษาเขมร คำว่า “พระ” ในภาษาเขมรหมายถึงศาสนาพุทธ ไม่ได้หมายถึง พระที่บวช ส่วนคำว่า “สทึง” มาจากภาษาเขมรที่แปลว่าคลองหิน หรือกล่าวรวม ๆ เรียกเมืองนั้นว่า “สทึงพระ” “ฉทิงพระ” หรือ “ฉทิงพระ” ก่อนมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเป้น “สทิงพระ”

นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ ในภาษาไทยทางภาคใต้ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมร เช่น สำรวจ, เสดา, กโรม ซึ่งชื่อ กโรม เป็นชื่อของน้ำตกแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งในภาษาเขมร “กโรม” แปลว่า “พื้นที่ต่ำ” ถ้าไปคุยกับคนเขมรปัจจุบันจะออกเสียงเป็น “โกรม” ซึ่งอาจสร้างความสงสัยมึนงงให้กับคนนครศรีธรรมราชยุคปัจจุบันไม่มากก็น้อย

ชาวเขมรโบราณอพยพย้ายตามชนชั้นนำมายังเมืองนครศรีธรรมราช

จิตร ภูมิศักดิ์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าอาจมีชาวเขมรโบราณอพยพย้ายตามชนชั้นมายังเมืองนครศรีธรรมราชเป็นจำนวนมากและกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมและชนพื้นเมืองที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น นอกจากหลักฐานในชื่อเรียกต่าง ๆ ที่หลงเหลืออยู่ยังมีข้อมูลจากจารึกพระพุทธรูปสำริดเมืองไชยาที่ใช้ชื่อเรียกกษัตริย์ศรีวิจัยองค์หนึ่งว่า “กัมรเดง อัญ มหาราช ศรีมัตไตรโลกยราชเมาลิ ภูษณพรรมเมพ” ทำให้จิตร ภูมิศักดิ์ เชื่อว่ากษัตริย์พระองค์นี้อาจเป็นเชื้อสายเขมร โดยครองราชอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 1726 ซึ่งตรงกับยุคที่เขมรเรืองอำนาจในสมัยอาณาจักรเขมรนครธมพระเจ้าชัยวรรมเทพที่ 7 ที่ครองราชในช่วงปี พ.ศ. 1727-1761 ก่อนอาณาจักรเขมรนครธม โดนอาณาจักรจามปาเข้ารุกราน

เมื่ออาณาจักรเขมรนครธมเริ่มเสื่อมอำนาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในนครศรีธรรมราชและหลุดพ้นจากอิทธิพลของเขมร กษัตริย์เปลี่ยนจากราชวงศ์ศรีมหาราช เป็นศรีธรรมราชขึ้นแทนที่ในช่วงปี พ.ศ. 1726-1773 ซึ่งรวมไปถึงไพร่พลที่อพยพลี้ภัยการเมืองจากเขมรมายังนครศรีธรรมราชเป็นจำนวนมาก

ข้อมูลในเว็บไซต์ Wikipedia ระบุเพิ่มเติมเอาไว้ว่าในปี พ.ศ. 1808 นครศรีธรรมราชทำได้ทำสงครามกับอาณาจักมัชปาหิตจากเกาะชวาและได้รับชัยชนะ ต่อมาท้าวพิชัยเทพเชียงภวาแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาให้พระโอรสคือท้าวอู่ทองยกทัพเข้ารุกรานนครศรีธรรมราชและสามารถเอาชนะพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช อย่างไรก็ตามได้เกิดโรคระบาดไข้ห่าขึ้นในเมืองนครศรีธรรมราช พระเจ้าศรีธรรมาโสกราชองค์สุดท้ายพร้อมเครือญาติเสด็จหนีโรคระบาดออกจากเมืองไป นครศรีธรรมราชจึงกลายเป็นเมืองร้างไร้ผู้คน ข้อมูลข้างต้นในย่อหน้านี้เป็นความเข้าใจของผู้เขียน พระเจ้าศรีธรรมโสกราชองค์สุดท้ายหนีไข้ห่าลงเรือไปเมืองอินทปัตบุรี หรือเมืองนครธมในอาณาจักรเขมร ตามชื่อที่จิตร ภูมิศักดิ์ระบุเอาไว้

ชื่อเต็ม ๆ ของเมืองอินทปัตบุรี คือ “กรุงกัมพูชาธิบดี ศรียโศธร นครอินทปัตถ์ กุรุรัฐราชธานี” โดยจิตร ภูมิศักดิ์ ตั้งข้อสังเกตว่าการตั้งชื่อเมืองของ “กรุงเทพมหานคร บวรทวราวดี ศรีอยุธยาฯ” นั้นได้รับอิทธิพลมาจากการตั้งชื่อเมืองของอาณาจักรเขมรโบราณ

ข้อมูลใน 2 ย่อหน้าสุดท้ายนี้ผู้เขียนค้นเพิ่มเติมจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ

ภายหลังเมืองนครศรีธรรมราชถูกทิ้งร้างผู้คนกระจัดกระจายไปอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ บางส่วนหนีลงทะเล บางส่วนหนีเข้าป่ากระจายตัวยังเมืองต่าง ๆ ที่ปลอดภัยกว่าจนเข้าสู่สมัยสมัยกรุงศรีอยุธยา พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชผู้ครองเมืองเพชรบุรี ส่งพระโอรสคือพระพนมวังพร้อมทั้งนางสะเดียงทองมาสร้างเมืองใหม่ คือ เมืองนครดอนพระ เมื่อพระพนมวังสวรรคตพระโอรสของพระพนมวังคือเจ้าศรีราชาครองเมืองนครต่อมา ซึ่งเจ้าศรีราชาได้รับการแต่งตั้งจากพระพนมทะเลเมืองเพชรบุรีให้เป็น “พญาศรีธรรมาโศกราช สุรินทรราชาสุรวงศ์ธิบดียุธิษเฐียร อภัยพีรีบรากรมพาหุ เจ้าพระยานครศรีธรรมราชมหานคร”

หลังจากที่ราชวงศ์ของพระพนมวังและเจ้าศรีราชาสิ้นสุดลง ขุนอินทาราเจ้าเมืองลานสกาจึงขึ้นมาเป็นผู้ครองนครศรีธรรมราชโดยใช้ชื่อว่า “ศรีมหาราชา” แต่เกิดความขัดแย้งกับอยุธยาทำให้ศรีมหาราชาถูกปลดจากตำแหน่ง บุตรชายของขุนอินทาราขึ้นครองเมืองนครศรีธรรมราชเป็นศรีมหาราชาองค์ต่อมา เมื่อราชวงศ์ศรีมหาราชาสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยาจึงส่งขุนรัตนากรมาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นมาฝ่ายอยุธยาจึงส่งผู้ปกครองนครศรีธรรมราชโดยตรงจนกรุงศรีอยุธยาโดนตีแตกโดยพม่า

ที่มาของข้อมูล ChatGPT, Silpa-mag.com, Wikipedia.org